กำลังดำเนินโครงการอยู่ในกิจกรรม ประกาศผลการคัดเลือก ในวันที่ 28 มกราคม 2564
เวลา 9.00 น.
ทางโครงการฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในกิจกรรมต่างๆของโครงการ
โครงการนี้เหมาะกับใคร
AI INNOVATION JUMPSTART?
งานส่งเสริมเทคโนโลยี เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี มีภารกิจหลักคือสร้างเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้บุคคลากรในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (Automation Robotics and Intelligent System: ARI) เพื่อให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรม โดยจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านเทคโนโลยีต่างๆ อีกทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต โดยจะสามารถพัฒนาไปเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ งานส่งเสริมเทคโนโลยีจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายตามที่กล่าวมาผ่านการจัดสัมมนา ฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการจัดโครงการต่างๆ โดยมีพันธมิตรเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
จึงได้ดำเนิน “โครงการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะ” หรือ “AI Innovation JumpStart” เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับนักพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกร และผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริง ด้านการสร้างผลงานนวัตกรรม ARI ต้นแบบเพื่อใช้ได้จริงเชิงพาณิชย์ในอนาคต ผู้เข้าร่วมโครงการต้องสร้างผลงานนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการของตลาด จะได้รับการอบรมทั้งด้านเทคนิคและธุรกิจที่จำเป็น สำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการเชิงพาณิชย์ เช่น การอบรมการบริหารโครงการสร้างนวัตกรรม การออกแบบ Design Thinking, Lean Startup, Lean Canvas ฯลฯ อีกทั้ง รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทั้งทางเทคนิคและธุรกิจ และการให้ทุนสนับสนุนต้นแบบ
วัตถุประสงค์
นักพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกร ผู้ประกอบการเทคโนโลยี อาจารย์ นิสิต นักศึกษา มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริงด้านการสร้างผลงานนวัตกรรม ARI ต้นแบบเพื่อใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ในอนาคต
• Smart Agriculture นวัตกรรม ARI เพื่อการเกษตร เช่น Precision Farming, Smart Farming, Agriculture Drone & Robot, Data Science for Agriculture, ฯลฯ
• Smart Manufacturing นวัตกรรม ARI เพื่อการผลิตและ Logistics เช่น Industry 4.0, Warehouse management, Robotics, Smart Transportation, ฯลฯ
• Smart Livingนวัตกรรม ARI เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น เช่น เพื่อผู้สูงอายุ ผู้ป่วย การแพทย์ การเดินทาง การท่องเที่ยว สุขภาพ ฯลฯ
พฤศจิกายน 2563 - กันยายน 2564
• ผู้สมัครควรมีจำนวนสมาชิกในทีมพัฒนาผลงาน จำนวน 2- 4 คนต่อทีม โดยสมาชิกในทีมต้องมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาชิ้นงานเทคโนโลยี ARI ได้ และมี DATA พร้อม
• มีผู้ซื้อ ผู้ใช้งาน หรือลูกค้าที่รอจะนำนวัตกรรมไปใช้งานจริงเมื่อผลงานเสร็จสมบูรณ์ ที่ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทในปีแรก (มูลค่าจากรายได้หรือการลงทุนหรือการลดต้นทุน)
• ผู้สมัครสามารถพัฒนาผลงานเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และสามารถเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณชนได้
• ผู้สมัครมีความรับผิดชอบ ความตั้งใจ และมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกิจกรรมโครงการ สามารถพัฒนาผลงาน และนำเสนอผลงานตามเงื่อนไข กติกา และระยะเวลาที่กำหนดได้
• รับสมัครบนเว็บไซต์และส่งข้อเสนอโครงการที่ http://swpark.or.th/index.php/aijumpstart/
• ผู้เข้าร่วมโครงการส่งข้อเสนอโครงการซึ่งประกอบด้วย
• หลักการและเหตุผล
• รายละเอียดนวัตกรรม
• รายละเอียดเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
• กลุ่มเป้าหมายผู้รอใช้งาน ผู้ซื้อหรือลูกค้า
• แผนธุรกิจในรูปแบบย่อ เช่น Business Canvas หรือ Lean Canvas
• รายละเอียดผู้รอใช้งาน ผู้ซื้อหรือลูกค้าที่จะใช้งานเมื่อผลงานเสร็จสมบูรณ์ หากมีหลักฐาน เช่น ใบเสนอราคา หนังสือแสดงเจตจำนง รายชื่อลูกค้าพร้อม email (ในกรณีเป็นลูกค้ารายย่อย) หรือสิ่งอื่นสิ่งใดที่เป็นเครื่องยืนยันว่าจะมีผู้ใช้งานแน่นอน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
• แผนการดำเนินงาน งบประมาณ รายละเอียดค่าใช้จ่ายพร้อมแผนการเบิกจ่าย
• คาดการณ์ผลกระทบ (impact)ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและวิธีการวัดผล เช่น มูลค่าการซื้อขาย มูลค่าการลงทุนของกลุ่มเป้าหมาย มูลค่าการลดค่าใช้จ่าย รายได้ของกลุ่มเป้าหมาย
• รายละเอียดผลงานและประสบการณ์ที่ผ่านมาของสมาชิกในทีม ฯลฯ
• สำเนาบัตรประชาชน สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชี สำเนาบัตรนักศึกษา (ถ้ามี)
• ประสบการณ์จากลงมือปฏิบัติจริงรวมทั้งได้รับอบรมด้านเทคนิคและธุรกิจ
• การรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านธุรกิจและด้านเทคนิค
• การใช้พื้นที่สำนักงานและห้องประชุม
• ทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์มูลค่าไม่เกินทีมละ 100,000* บาท ไม่เกิน 20* ทุน
• ประกาศนียบัตรพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับทีมที่พัฒนาผลงานเสร็จสิ้นตามแผน
• ช่องทางและเครือข่ายการดำเนินธุรกิจ
*ทุนสนับสนุนฯ นี้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% และค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน โดยทุนดังกล่าวจะแบ่งจ่ายเป็นงวดและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม หากไม่มีผลงานที่เหมาะสมหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข คณะกรรมการพิจารณาสงวนสิทธ์ไม่พิจารณาให้ทุนหรือยกเลิกทุนได้ คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด จำนวนทุนอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
• สร้างบุคลากรเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรม ARI ตามนโยบาย EECi ของประเทศ
• ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์โดยใช้เทคโนโลยี ARI เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบาย Thailand 4.0 ในอนาคต
• เกิดนวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์ที่สามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการได้จริงในอนาคต
1. ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์โครงการ
2. ผู้ผ่านการคัดเลือกเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการ และลงนามในข้อตกลงของโครงการ
3. คณะกรรมการวินิจฉัยแผนงาน และเห็นชอบให้เริ่มต้นโครงการ
(ในกรณี ไม่เห็นชอบ ต้องนำแผนงานกลับไปแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงเพื่อเสนอคณะกรรมการวินิจฉัยต่อไป)
4. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ออกหนังสือเริ่มต้นโครงการ
(ผู้ผ่านการคัดเลือกจะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้เข้าร่วมโครงการ)
5. ผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มดำเนินงานตามแผนงานและรายงานความก้าวหน้า ตามที่โครงการนัดหมาย
6. ผู้เข้าร่วมโครงการรายงานความก้าวหน้า และเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ
7. คณะกรรมการวินิจฉัยผลงาน และเห็นชอบให้เบิกจ่ายเงินสนับสนุน
(ในกรณี ไม่เห็นชอบ ต้องนำผลงานกลับไปแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงเพื่อเสนอคณะกรรมการวินิจฉัยต่อไป)
8. ทางเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยจะดำเนินการเบิกเงินสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการ
ปฏิทินกิจกรรม
(พฤศจิกายน 2563 – กันยายน 2564)
โดยผู้เข้าร่วมการต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2 พ.ย. – 21 ธ.ค 2563
กิจกรรมการประชาสัมพันธ์และรับสมัคร
โดย (1) รับสมัครผ่านเว็บไซต์ และ (2) ต้องส่งข้อเสนอโครงการภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้มีสมาชิกได้ 2-4 คน และสามารถพัฒนาเทคโนโลยี ARI ที่เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้
กิจกรรมคัดเลือก
ผู้สมัครนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณา
(เมื่อสมัคร และได้รับการติดต่อแล้ว กรุณาสำรองเวลาเพื่อเข้าร่วมสัมภาษณ์ต่อไป)
28 ม.ค. 2564
ประกาศผลการคัดเลือก
ประกาศผลทีมผู้ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ จำนวน 20 ทุน* (ส่วนกลาง 10 ทุน, ภาคเหนือ 5 ทุนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ทุน) ทุนละ 100,000 บาท (เป็นไปตามที่เงื่อนไขที่โครงการกำหนด) โดยทั้ง 20 ทีม จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมบูธแคมป์ 3 วัน 2 คืน เพื่ออบรมเข้มข้น (BootCamp) ความรู้ทางเทคนิคและธุรกิจ
*จำนวนทุนอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
19-21 ก.พ. 2564
กิจกรรม BootCamp*
กิจกรรมบูธแคมป์ 3 วัน 2 คืน เป็นอบรมการเชิงปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้น ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ลงมือปฏิบัติจริงด้านการสร้างผลงานต้นแบบนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ ที่เป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยการอบรมทั้งด้านเทคนิคและธุรกิจที่จำเป็น เช่น โมเดลธุรกิจ Lean Canvas และ/หรือ Design Thinking โดยโครงการสนับสนุนที่พัก อาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างตลอดกิจกรรม
*ทีมจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางโครงการฯ จะเบิกค่าเดินทางให้ไม่เกินคนละ 3,000 บาท ทีมละไม่เกิน 4 คน เพื่อเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp1 ก.พ. – 30 ส.ค. 2564
กิจกรรมการพัฒนาผลงานและการให้คำปรึกษา
ช่วงเวลาการพัฒนาผลงาน พร้อมทดสอบและนำไปใช้จริง โดยจะต้องรายงานผลแบบรายเดือน (Monthly Progress Report) เพื่อให้โครงการสามารถรับรู้รับทราบความก้าวหน้าของผลงาน และเบิกเงินสนับสนุนตามงวดงานได้ ดังนี้
5 ต.ค. 256427 ก.ย. 2564
กิจกรรม Pitch like a Pro (Online!!)
ผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการ AI JumpStart Batch 3 ทั้ง 22 ทีมอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM
โดย อ.สุดชาย สิงห์มโน, นักวิชาการอิสระ, CEO บริษัท ดีไลท์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Founder สตาร์ทอัพเฮ้าส์ จังหวัดระยอง
12 ต.ค. 2564
Pitching Online
กิจกรรมนำเสนอผลงานผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom
นำเสนอผลงานต้นแบบนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์
และระบบอัจฉริยะ ต่อนักลงทุน สื่อมวลชน และผู้ที่สนใจ
ผลงานนวัตกรรมของ AI JumpStart Batch 3 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม1: เทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรและผลผลิตทางการเกษตร
(Technologies for Farmers and Agricultural Produce)
กลุ่ม2: เทคโนโลยีการตลาดและส่งเสริมการขาย
(Technologies for Marketing and Sales Promotions)
กลุ่ม3: เทคโนโลยีงานอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ
(Technologies for Industries and Automated Systems)
กลุ่ม4: เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technologies)
ต้องหาแล้วหล่ะค่ะ เพราะถ้าไม่มีลูกค้า แสดงว่า AI ของคุณจะไม่สามารถนำไปใช้งานในเชิงธุรกิจได้
B2B ย่อมาจาก Business-to-Business ความหมายก็คือ Business ของคุณ (B ตัวแรก) นั้นทำธุรกิจโดยขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นลูกค้าองค์กร ไม่ใช่คนธรรมดา ส่วน B2C มาจากคำว่า Business-to-Consumer หมายถึงธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค/คนธรรมดาทั่วไป
ทีมจากตจว. ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ทางโครงการฯ จะเบิกค่าเดินทางให้ไม่เกินคนละ 3,000 บาท ทีมละไม่เกิน 4 คน เพื่อเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรม เช่น Boot Camp, Pitch like a Pro และ Demo Day เป็นต้น
สมัครได้ ขอให้โทรมาสอบถามรายละเอียดก่อน ^_^
คุณภัทราพร
คุณสุพรรณี วงศ์ปัญญาดี
คุณนารีวรรณ อภิโชติธนกุล
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้
This website uses cookies to offer you a seamless experience. These cookies are essential for running our website and are key to providing you a smoother and more personalized experience.
By using our website, you acknowledge that you have read and understand our cookie policy.